เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

โรคเหี่ยวของสับปะรด

โรคเหี่ยวของสับปะรด

     เกิดเชื้อไวรัส Pineapple mealybug wilt-associated virus (PMWaV) โดยมีเพลี้ยแป้ง เป็นแมลงพาหะในการแพร่กระจายโรค

 

ลักษณะอาการ

     โรคเหี่ยวสับประรด หรือ โรคเอ๋อ หรือ โรคเอดส์ อาการเริ่มแรกจะเกิดกับระบบราก โดยรากจะชะงักการเจริญเติบโต เซลล์รากจะตาย ต่อมาเนื้อเยื่อรากจะเน่า จากนั้นจะแสดงอาการทางใบ โดยใบจะอ่อนนิ่ม มีสีเขียวอ่อนหรือสีเหลืองอ่อน ปลายใบแห้งเป็นสีน้ำตาลจนถึงสีแดงลามสู่โคนใบ ใบลู่ลง แผ่แบน ใบไม่ตั้งเหมือนปกติ ใบหักงอ ต่อมาต้นจะเหี่ยวและแห้งตาย รากสั้นกุด ถอนต้นออกได้ง่าย อาการจะเด่นชัดหลังการบังคับดอก ผลไม่พัฒนา ไม่ขยายขนาด มีขนาดเล็ก ผลผลิตเสียหายมากจนไม่สามารถเก็บผลผลิตได้

     หากปลูกด้วยหน่อจะเริ่มพบอาการเหี่ยวในระยะ 6 เดือนขึ้นไป แต่กรณีปลูกด้วยจุกจะพบอาการในระยะประมาณ 1 ปี มักพบการระบาดในแปลงต้นตอสูงกว่าแปลงต้นปลูก และสภาพอากาศแห้งแล้งรุนแรงจะยิ่งเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดโรครุนแรงยิ่งขึ้น โดยเชื้อไวรัสจะเข้าฟักตัวในต้นสับปะรดและแสดงอาการเมื่อพืชอ่อนแอหรือสภาพแวดล้อมเหมาะสม มักเกิดรุนแรงในพันธุ์ปัตตาเวีย

 

อาการรากเน่าดำ

อาการเหี่ยว ใบลู่

การแพร่ระบาด

     มีเพลี้ยแป้ง 2 ชนิด คือ เพลี้ยแป้งสีชมพูและเพลี้ยแป้งสีเทา เป็นพาหะนำเชื้อไวรัสเข้าสู่ต้นสับปะรด โดยเพลี้ยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นที่เป็นโรคแล้วแพร่เชื้อต่อไปสู่ต้นที่ปกติ ทำให้โรคระบาดลุกลามไปเรื่อยๆ โดยมีมดหัวโตและมดคันไฟเป็นตัวการนำเพลี้ยแป้งไปสู่ต้นอื่นๆ ขณะที่บางช่วงอายุเพลี้ยแป้งจะสร้างปีกบินได้และอพยพสู่ต้นอื่นๆได้เช่นกัน

** ปัจจุบัน ยังไม่มีสารเคมีที่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสหลังแพร่กระจายในต้นพืชได้ **

แนวทางแก้ปัญหา

  1. ช่วงเตรียมดิน ให้ตัดต้นและปั่นตอเก่าทิ้งไว้ 2-3 เดือน จากนั้นไถและพรวนดิน 1-2 ครั้ง และเก็บเศษซากพืชทำลายทิ้งนอกแปลง
  2. หลีกเลี่ยงการนำหน่อหรือจุกพันธุ์จากแหล่งที่มีการระบาดของโรคไปปลูกหรือขยายพันธุ์ เพราะอาจมีไวรัสแฝงอยู่แม้จะไม่แสดงอาการของโรคให้เห็น
  3. ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงก่อนปลูก แนะนำ คัพเวอร์กรีน 50 ซีซี + (ไอมิด้า 30 กรัม หรือ เท็นสตาร์ 100 ซีซี) ร่วมกับ เมทาแลกซิล 300 กรัม + ซีวิว 300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดใส่หน่อหรือจุก พอให้น้ำไหลเข้ากาบ แล้วค่อยยกไปปลูก เพื่อป้องกันกำจัดโรค และทำให้หน่อคุณภาพดี ตั้งตัวเร็ว ทนแล้ง
  4. ตรวจแปลงเสมออย่างน้อยเดือนละ 1-2 ครั้ง หากพบต้นที่แสดงอาการของโรคต้องรีบเก็บเผาทำลายทันที และควรพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงพาหะเพื่อป้องกันการลุกลาม ด้วย อะวอร์ด40เอสซี 100 ซีซี + (ไอมิด้า 30 กรัม หรือ เท็นสตาร์ 100 ซีซี) ต่อน้ำ 200 ลิตร
  5. ฉีดพ่นด้วย นีโอ-ไฮแคล 200 ซีซี หรือ แคลเคียร์ 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร เพื่อสร้างความแข็งแรงให้เซลล์พืชอยู่เสมอ ช่วยลดความรุนแรงของการเกิดโรค

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife



วิธีสั่งของออนไลน์