เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

โรคราดำในมะม่วง

ลักษณะอาการ

            สาเหตุเกิดจากเชื้อราได้หลากหลายชนิด เช่น Capnodium mangifera และ Meliola mangifer โดยบริเวณผิวใบ กิ่งอ่อน ช่อดอก ดอก และขั้วผล จะมีผงหรือเส้นใยหรือแผ่นสีดำปกคลุมเป็นหย่อมๆ บางชนิดขึ้นฟูเป็นแฉกคล้ายดาว ในสภาพแห้งแล้งคราบราดำบางชนิดบนใบอาจค่อยๆหลุดไป แต่บางชนิดอาจฝังตัวแน่น

เชื้อราดำส่วนใหญ่ไม่ได้ทำลายเนื้อเยื่อพืชโดยตรง แต่จะไปบดบังพื้นที่สังเคราะห์แสงสร้างอาหารของพืช เชื้อราจะขึ้นปกคลุมดอกและเกสร เป็นปัญหาต่อการผสมเกสร ทำให้ติดผลน้อยลง หรือไม่ติดผลเลย หรือทำให้ผลเป็นตำหนิ ขายไม่ได้ราคา


การแพร่ระบาด

            โรคนี้เกิดจากแมลงปากดูด เช่น เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง แมลงเหล่านี้จะขับถ่ายของเหลวที่มีความหวานออกมา ซึ่งเป็นอาหารของราดำ ทำให้ราดำแพร่กระจายได้รวดเร็ว ดังนั้นในช่วงที่มะม่วงเริ่มแทงช่อดอก ให้สำรวจแมลงปากดูดในสวน หากพบการระบาดของแมลง ใช้สารกำจัดแมลงในช่วงก่อนออกดอกก่อนหนึ่งครั้ง หากยังพบการทำลายของแมลงควรฉีดพ่นอีกครั้งในระยะดอกตูม

 

การป้องกันกำจัด

  1. ควรตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคออก
  2. ฉีดพ่นน้ำพ่นบ่อยครั้ง เพื่อชะล้างคราบราดำหรือละลายคราบน้ำหวานที่เคลือบบนผิวพืช ราดำอาจล่อนหลุดไปเองโดยไม่นำเป็นต้องใช้สารป้องกันกำจัดโรค
  3. ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรค
การป้องกันใช้: บิซโทร 300 กรัม หรือ เบนเอฟ 200 ซีซี หรือ ไมโครบลูคอป 200 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร
การรักษาใช้: อินดีฟ 100 ซีซี หรือ แซสซี่ 100 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร

  1. ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงปากดูด โดยเฉพาะในช่วงแตกใบอ่อนและแทงช่อดอก
ช่วงไม่มีดอก: ฟินิช 400 ซีซี + อะวอร์ด 150 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
ช่วงดอก: เท็นสตาร์ 150 ซีซี หรือ ไอมิด้า 30 กรัม หรือ ฟิพเปอร์ 300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife

แหล่งข้อมูล:

โรคมะม่วงและการป้องกันกำจัด กรมวิชาการเกษตรข้างล่างแจ็คไม่ต้องใส่

https://www.doa.go.th/share/attachment.php?aid=1215

ยาโรคที่แนะนำเพิ่มจาก kasetgo https://kasetgo.com/t/topic/207470



วิธีสั่งของออนไลน์