เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

โรคทางดินที่มักพบในหน้าฝน

โรคทางดินที่มักพบในหน้าฝน

        ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคพืชระบาดมากในฤดูฝน

ฤดูฝน ความชื้นสูง สปอร์เชื้อราเจริญได้ดี (ระดับความชื้นดิน 50-75%)
 น้ำฝนมีความเป็นกรดเล็กน้อย ซึ่งเชื้อก่อโรคจะระบาดได้ดี โดยเฉพาะในสภาพดินที่มีความเป็นกรด หากเกิดน้ำท่วมขังรากนาน รากจะขาดออกซิเจน เกิดการสร้างสารพิษ เช่น กรดเอทานอลและกรดแลคติค ทำให้รากอ่อนแอและโรคเข้าทำลายได้ง่าย
 น้ำเป็นตัวช่วยในการแพร่กระจายสปอร์ของเชื้อราบางชนิด เช่น ไฟทอปธอร่า ซึ่งมีการสร้างสปอร์แบบซูสปอร์ (zoospore) เป็นสปอร์ที่มีหางเคลื่อนที่ในน้ำได้ดี

1.โรครากเน่าโคนเน่า

          รากมีสีคล้ำ เมื่อถากเปลือกจะพบว่าเปลือกเน่ามีสีน้ำตาล มีกลิ่นหืนเฉพาะตัว พบรากฝอยหรือรากขนาดเล็กเปื่อยยุ่ย เมื่อดึงเบาๆจะขาดออกจากกันได้ง่าย ถ้าเป็นมากจะลุกลามขึ้นตามโคนต้น ช่วงเช้าๆจะมีน้ำสีน้ำตาลเยิ้มไหลออกมาบริเวณแผล ในวันที่แดดจัดน้ำเยิ้มๆดังกล่าวจะแห้ง เห็นรอยแผลเน่าเป็นวง ใบจะสลดเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ใบร่วงหรือแห้ง ถ้าเป็นมากจะยืนต้นตาย

 

2.โรคเน่าคอดิน

          ระบบรากถูกทำลายหลุดล่อน ขาดกุด มีสปอร์สีขาวของเชื้อรา อาจจะพบเม็ดเชื้อราเหมือนเมล็ดผักกาดปะปนอยู่กับเส้นใยสปอร์ พืชไม่โตเท่าที่ควร ใบเหลือง เหี่ยว ใบร่วง แคระแกร็น

 

3.โรคเหี่ยวเหลือง

          โคนและรากถูกทำลายจนเปลือกหลุดล่อน เน่าเป็นสีน้ำตาลเข้ม รากขาดติดอยู่ในดิน ใบเหลืองเหี่ยวลู่ลงและหลุดร่วง กิ่งหรือแขนงอ่อนเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแล้วแห้งตาย ต้นแคระแกร็น ไม่ให้ดอกผล หรือผลไม่สมบูรณ์ ผลลีบเล็ก หลุดร่วง

4.โรคเหี่ยวเขียว

          พืชเหี่ยวอย่างรวดเร็วโดยไม่มีอาการใบเหลือง หยุดการเจริญเติบโต หากเป็นมากจะตายได้ภายใน 2-3 วัน เมื่อนำส่วนโคนต้นมาตัดดูจะพบวงแหวนสีน้ำตาลบริเวณท่อน้ำท่ออาหาร เมื่อนำส่วนที่ตัดไปแช่น้ำจะพบเมือกสีขาวขุ่น ลักษณะเหนียวหนืด มีกลุ่มแบคทีเรียไหลออกมาเป็นสายยาวสีขาวขุ่นภายใน 2-5 นาที

แหล่งข้อมูล
: สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 4
: สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6
: โรคและแมลงศัตรูพืชสำคัญ (พิสุทธิ์ เอกอำนวย)
: จุลินทรีย์ในดิน: เชื้อรา (ผศ.ดร. พฤกษา หล้าวงษา)


วิธีสั่งของออนไลน์