เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

โรคดอกเน่าของดาวเรือง

เนื่องจากช่วงนี้ฝนตกความชื้นสูง มักพบโรคดอกเน่าในดาวเรืองที่อยู่ในระยะออกดอกถึงระยะดอกบาน ซึ่งเป็นโรคที่สำคัญและทำความเสียหายแก่ดอกดาวเรือง ทำให้ไม่สามารถเก็บดอกขายได้ โดยมีเชื้อสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดอกเน่า ได้แก่ เชื้อรา Alternaria sp., Botrytis sp. , Colletotrichum sp.

ลักษณะอาการ

       เชื้อรา Alternaria sp. ดอกตูมจนถึงช่วงดอกกำลังพัฒนา เชื้อราเข้าทำลายก้านดอก กลีบเลี้ยง กลีบดอก ลักษณะไหม้เป็นสีน้ำตาล กลีบดอกช้ำ หรือดอกไหม้ แผลเน่าแห้ง มีผงเชื้อราปกคลุม ถ้าเชื้อเข้าทำลายช่วงดอกกำลังบานจะทำให้กลีบเลี้ยงเน่ารัดตัว ดอกไม่บาน หรือทำลายบริเวณฐานรองดอกข้างใดข้างหนึ่ง ทำให้ดอกดาวเรืองบานแค่ครึ่งเดียว

      เชื้อรา Botrytis sp. เกิดขึ้นหลังดอกบานเต็มที่ บริเวณกลางดอกโคนกลีบดาวเรืองจะเริ่มมีแผลสีน้ำตาล และลามไปทั้งดอก ทำให้ดอกเน่าแฉะ ตอนเช้าอาจเห็นก้านชูสปอร์และสปอร์ของเชื้อราบริเวณแผล สปอร์สามารถปลิวไปตามลม ทำให้เกิดการระบาดทั่วแปลงได้

      เชื้อรา Colletotrichum sp. หากเกิดในระยะดอกตูมจะทำให้ดอกไม่สามารถบานได้ หากทำลายระยะดอกบาน จะเน่าเป็นวงแหวนบริเวณกลางดอก ดอกที่เกิดโรคกลีบดอกจะเน่าเป็นสีน้ำตาลลามเข้าไปทางโคนกลีบ ทำให้ดอกมีสีน้ำตาลดำ เชื้อเข้าทำลายจากดอกลามสู่ลำต้น

การแพร่ระบาด

       สปอร์ของเชื้อราจะติดไปกับเมล็ดพันธุ์ ปลิวไปตามลม และแพร่กระจายไปกับน้ำที่รด หรือกระเด็นไปกับน้ำฝน พบการเกิดโรคตลอดปี จะทำความเสียหายในฤดูฝนช่วงความชื้นสูง

การป้องกันกำจัด

   1. สำรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เก็บเศษซากที่เป็นโรคทำลายทิ้งนอกแปลง

   2. ระมัดระวังการให้น้ำ อย่าให้ชุ่มมากจนเกินไป โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน หรือในช่วงที่มีอากาศร้อน นอกจากนี้ในแปลงปลูกหากสามารถใช้ระบบน้ำหยด จะสามารถลดการเปียกของต้น ทำให้ลดการระบาดของโรคได้เป็นอย่างมาก

   3. ปรับปรุงดินด้วย ยูโอนิกซ์ 30 ซีซี + คริสตัล 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ราดโคนต้นทุก 7-10 วัน เพื่อทำให้พืชมีความสมบูรณ์แข็งแรง

   4.บำรุงดูแลให้พืชแข็งแรงอยู่เสมอ จะช่วยลดการเกิดโรค แนะนำ แคลเคลียร์ 20 ซีซี หรือ นีโอ-ไฮแคล 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

   5 ถ้าระบาดมาก พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ที่ยูนิไลฟ์ แนะนำ บิซโทร 40 กรัม หรือ เบนเอฟ 20 ซีซี หรือ แซสซี่ 10 ซีซี หรือ อินดีฟ 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife

ที่มา : กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย



วิธีสั่งของออนไลน์