เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

โรคกาบใบแห้งในข้าว

เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Rhizoctonia solani (Thanatephorus cucumeris (Frank) Donk)

ลักษณะอาการ

        เริ่มพบอาการในระยะแตกกอจนถึงระยะใกล้เก็บเกี่ยว ยิ่งต้นข้าวมีการแตกกอมากเท่าไหร่ จะยิ่งเบียดเสียดกันมากขึ้น ทำให้ความรุนแรงของโรคมากขึ้น ลักษณะแผลเป็นสีเขียวปนเทา แสดงอาการตามกาบใบ ตรงบริเวณใกล้ระดับน้ำ แผลจะลุกลามขยายใหญ่ขึ้นจนมีขนาดไม่จำกัด แล้วลุกลามขยายขึ้นไปถึงใบข้าวด้านบน ถ้าเป็นพันธุ์ข้าวที่อ่อนแอ แผลสามารถลุกลามถึงใบธงและกาบหุ้มรวงข้าว ทำให้ใบและกาบใบเหี่ยวแห้ง ผลผลิตจะลดลงอย่างมาก เชื้อราสามารถสร้างเม็ดขยายพันธุ์อยู่ได้นานในตอซังหรือวัชพืชในนาหรือตามดินนา สามารถมีชีวิตข้ามฤดู ทำให้เชื้อสามารถเข้าทำลายข้าวได้ตลอดฤดูการทำนา

การป้องกันและกำจัด

1. หลังเก็บเกี่ยวข้าวและเริ่มฤดูใหม่ ควรไถพลิกหน้าดินตากแดด เพื่อทำลายเม็ดขยายพันธุ์ (Fruiting body) ของเชื้อราสาเหตุโรค

2. กำจัดวัชพืชตามคันนาและแหล่งน้ำ เพื่อทำลายพืชอาศัยของเชื้อราสาเหตุโรค

3. ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อรา โดยพ่นสารในบริเวณที่เริ่มพบการระบาด ไม่จำเป็นต้องพ่นทั้งแปลง เพราะโรคนี้จะเกิดเป็นหย่อม แนะนำผลิตภัณฑ์

การป้องกัน : รัสโซล 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

การกำจัด :    ชีคไบท์ 30 ซีซี หรือ มิลล่า 20 ซีซี หรือ แอพโพช 15 ซีซี หรือ แซสซี่ 10 ซีซี หรือ อินดีฟ 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife

ที่มา: องค์ความรู้เรื่องข้าว กรมการข้าว



วิธีสั่งของออนไลน์