เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง

ลักษณะการทำลาย

      เพลี้ยแป้งจะดูดน้ำเลี้ยงจากมันสำปะหลังในส่วนของต้นที่ยังอ่อนอยู่ โดยใช้ปากที่มีลักษณะเป็นท่อยาวแทงเข้าไปในส่วนของใบ ยอด หรือตา จากนั้นก็จะขับถ่ายมูลที่มีลักษณะเป็นของเหลวเหนียวๆ ออกมา เรียกว่า มูลหวาน ซึ่งจะเป็นที่อาศัยและอาหารของราดำ เมื่อราดำเจริญเติบโตปกคลุมส่วนต่างๆ จะทำให้การสังเคราะห์แสงของมันสำปะหลังลดลง ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการสร้างผลผลิต

      ส่วนของยอดที่ถูกทำลายจะหงิกงอ ลำต้นบิดเบี้ยว มีช่วงข้อถี่ ทำให้มีผลต่อคุณภาพท่อนพันธุ์ หัวมีขนาดเล็ก เปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ หากการระบาดรุนแรงยอดจะแห้งตาย ถ้ามีระบาดในช่วงที่มันสำปะหลังอายุน้อย อาจทำให้ต้นมันสำปะหลังตายหรือไม่สามารถสร้างหัวได้ เพลี้ยแป้งจะระบาดรุนแรงในฤดูแล้งมากกว่าในฤดูฝนโดยเฉพาะฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน แปลงที่มีการระบาดอย่างรุนแรงความเสียหายเกิดขึ้นเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์

ลักษณะการทำลาย

1.ไถพรวนดินหลาย ๆ ครั้ง และตากดินอย่างน้อย 14 วัน ก่อนปลูก

2.ใช้ท่อนพันธุ์สะอาด แช่ท่อนพันธุ์ด้วย เท็นสตาร์ 100 ซีซี หรือ ไอมิด้า 20 กรัม ร่วมกับ ซีวิว 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร แช่ประมาณ 5 นาที

3. พื้นที่ที่มีการระบาดของเพลี้ยแป้ง ควรปลูกช่วงต้นฝน ซึ่งฝนที่ตกต่อเนื่องจะทำให้การระบาดลดลง

4. ตรวจแปลงสม่ำเสมอทุก 2 สัปดาห์ หากระบาดไม่รุนแรงให้ตัดส่วนที่พบเพลี้ยไปทำลายนอกแปลง หากระบาดรุนแรงให้ถอนทิ้ง จากนั้นพ่นสารกำจัดแมลง ใช้ อะวอร์ด40เอสซี 100 ซีซี + ( เท็นสตาร์ 100 ซีซี หรือ ฟิพเปอร์ 300 ซีซี หรือ ไอมิด้า 20 กรัม) ต่อน้ำ 200 ลิตร

       หากระบาดในมันสำปะหลังอายุมากกว่า 8 เดือน ควรเร่งเก็บผลผลิต ตัดต้นทิ้งแล้วนำไปทำลาย จากนั้นปลูกพืชอื่นที่ไม่เป็นแหล่งอาศัยของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง เช่น ข้าวโพด อ้อย ข้าวฟ่าง หรือทานตะวัน

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife



วิธีสั่งของออนไลน์