เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

เตือนภัย โรคแคงเกอร์ในมะนาว

สาเหตุของโรค : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris pv. citri

การแพร่ระบาด

     สามารถเกิดได้ง่ายและรุนแรงขึ้น ในสภาพอากาศที่ร้อนชื้น อุณหภูมิประมาณ 20 – 30 องศาเซลเซียส และระยะที่มีหนอนชอนใบส้มเข้าทำลาย นอกจากนี้ก็แพร่กระจายได้ตามกระแสลม น้ำค้าง ฝน แมลง และ มนุษย์ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเคลื่อนย้ายกิ่งที่มีโรคโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จากแหล่งหนึ่งไปยังสถานที่อื่นๆ เป็นระยะทางไกลๆได้ ช่วงที่ระบาดจะเป็นช่วงเดือนพฤษภาคม – กันยายน

ลักษณะอาการ

โรคแคงเกอร์ สามารถที่จะเข้าทำลายมะนาวได้เกือบทุกส่วนของต้นไม่ว่าจะเป็น  กิ่ง ก้าน ใบ ลำต้น รวมทั้งผล  ถ้าเป็นที่ใบอ่อนจะสังเกตเห็นได้ว่าเป็นจุดกลม ๆ ฉ่ำน้ำ ออกสีเหลืองซีด ๆ หรือเขียวอ่อน เมื่อขนาดของวงขยายใหญ่ขึ้นจะมีลักษณะฟูคล้ายๆ ฟองน้ำ ซึ่งในเวลาต่อมาจะกลายเป็นสีน้ำตาลเข้ม แตกสะเก็ด ขรุขระเป็นปุ่มนูนและแข็ง แต่ตรงกลางจะเป็นรอยบุ๋มยุบลงไป และมีวงสีเหลืองล้อมรอบแผล สามารถที่จะมองเห็นได้ทั้งสองด้านของใบ ถ้าปล่อยให้เป็นมากๆ ใบจะร่วงหล่น

การป้องกันกำจัด

  1. ทำได้ด้วยการหมั่นคอยดูแลและตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะในพืชช่วงที่กำลังแตกใบอ่อน หรือติดผลอ่อนต้องคอยระวังแมลงที่เป็นพาหะเช่น หนอนชอนใบ จะเข้ามาทำลายให้เกิดแผล
  2. สามารถป้องกันกำจัดด้วยสารเคมี ใช้ ไมโครบลูคอป 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน ช่วงที่มีใบอ่อน ติดผลอ่อน

เพิ่มเติม เพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่าควรใช้ คัพเวอร์กรีน ใส่ก่อนผสมสารเคมีทุกครั้ง



วิธีสั่งของออนไลน์