เนื่องจากในช่วงนี้เป็นฤดูที่มีผลไม้ออกสู้ตลาดมากมายหลายชนิดไม่ว่าจะเป็น ลองกอง ทุเรียน เงาะ มังคุด และผลไม้อื่นๆ อีกมากมาย วันนี้เรามีวิธีการหนึ่งเพื่อให้พี่น้องเกษตรกรตลอดจนผู้บริโภค มีความรู้ในการคัดคุณภาพผลผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสามารถนำมาจำหน่ายและบริโภคได้ทุกผล จึงขอนำเสนอปัญหาเกี่ยวกับผลมังคุด คือ ปัญหามังคุดเนื้อแก้วยางไหล
มังคุดเนื้อแก้วยางไหล
แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะตามอาการที่ปรากฏ คือ
1.อาการยางไหลที่ผิวมังคุด

สามารถพบได้ในมังคุดทั้งระยะผลอ่อนและระยะผลแก่ สำหรับยางไหลในระยะผลอ่อนเกิดจากเพลี้ยไฟดูดกินน้ำเลี้ยงระยะผลอ่อน จึงทาให้เกิดยางสีเหลืองไหลออกมาจากผิวเปลือก ทำให้ผลมีการเจริญเติบโตช้า
สำหรับการเกิดอาการยางไหลในระยะผลขนาดใหญ่ จะพบอาการยางไหลในขณะผลใกล้แก่แต่ยังมีสีเขียวอยู่ ยังไม่พบสาเหตุที่แน่นอน สันนิษฐานว่าเกิดจากมังคุดได้รับน้ำมากเกินไป ทาให้ปริมาณน้ำยางในผลมีมากและปะทุออกมาเอง หรืออาจมีแมลงไปทำให้เกิดบาดแผลทำให้ยางไหลออกมาได้ ซึ่งภายหลังการเก็บเกี่ยว ก็สามารถขูดยางเหล่านี้ออกได้โดยผลไม่เสียหาย แต่จะสิ้นเปลืองเวลาและแรงงาน
การป้องกัน
การป้องกันการเกิดอาการยางไหลในระยะผลอ่อน ทำได้โดยป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟตั้งแต่มังคุดเริ่มออกดอก โดยในระยะใบอ่อน เมื่อสำรวจพบเพลี้ยไฟที่ยอด มากกว่าหรือเท่ากับ 1 ตัวต่อยอด และระยะเริ่มออกดอกถึงผลอ่อนอายุ 8 สัปดาห์ เมื่อสำรวจพบเพลี้ยไฟ มากกว่าหรือเท่ากับ 1 ตัวต่อ 4 ดอกหรือผล ให้พ่นสารเคมี สารที่ยูนิไลฟ์แนะนำ ไอมิด้า 20 กรัม หรือ ฟิพเปอร์ 100 ซีซี หรือ แมมมอท 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร และห้ามใช้สารเคมีชนิดเดียวติดต่อกันต่อเนื่องเพราะจะทำให้เพลี้ยไฟดื้อยา
สำหรับการป้องกันเกิดอาการยางไหลในระยะผลขนาดใหญ่ จะต้องมีการจัดการน้ำที่ดีเหมาะสมกับความต้องการ มีระบบการระบายน้ำที่ดีโดยเฉพาะในช่วงที่มีฝนตกชุก โดยหากพื้นที่ปลูกมังคุดเป็นที่ราบอาจใช้รถแทรกเตอร์ไถพรวนกลับไป – มา ให้เป็นสันร่องแบบลูกฟูกเพื่อให้มีการระบายน้ำได้ดียิ่งขึ้น และหมั่นตรวจสอบไม่ให้มีแมลงศัตรูพืชเข้ามาทำลายผลมังคุด

2.อาการเนื้อแก้วและยางไหลภายในผลมังคุด

อาการเนื้อแก้ว เป็นอาการของเนื้อมังคุดที่มีสีขาวใสในบางกลีบ โดยมากจะเป็นกับกลีบที่มีขนาดใหญ่ บางครั้งอาจเกิดอาการเนื้อแก้วทั้งผล ซึ่งอาการเนื้อแก้วนี้จะสังเกตได้จากลักษณะภายนอก กล่าวคือ ผลที่มีรอยร้าวอยู่ที่ผิวมักจะมีอาการเนื้อแก้วด้วย แต่ในบางครั้งพบว่าลักษณะภายนอกผลที่เป็นปกติ เมื่อผ่าดูก็สามารถพบอาการเนื้อแก้วได้เช่นกัน
อาการยางไหลภายในผลมังคุด จะพบยางสีเหลืองอยู่ตรงกลางระหว่างกลีบผล มักจะพบคู่กับอาการเนื้อแก้ว หรืออาจจะพบแต่อาการยางไหลเพียงอย่างเดียวก็ได้ อาการเนื้อแก้วและยางไหลภายในผล จะพบมากในมังคุดที่ไม่ได้รับการดูแลรักษา เช่น ได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอ หรือขาดน้ำเป็นเวลานานๆ มีการระบายน้ำไม่ดี เมื่อได้รับน้ำในปริมาณที่มากจากฝนที่ตกชุกในช่วงผลใกล้แก่ ผลมังคุดได้รับน้ำอย่างกะทันหัน เปลือกขยายตัวไม่ทันจึงเกิดรอยร้าว และท่อน้ำยางภายในผลก็ได้รับน้ำมากเช่นกัน ส่งผลให้เกิดแรงดันมากจึงปะทุแตกและมีน้ำยางไหลออกมา นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการบำรุงรักษาต้นมังคุดอย่างไม่ถูกต้อง ไม่มีการตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง มังคุดได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอ ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มังคุดเกิดอาการเนื้อแก้วได้
การป้องกัน
- จัดการให้ต้นมังคุดออกดอกเร็วเพื่อหลีกเลี่ยงการเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงฝนตกชุก
- จัดการให้น้ำต้นมังคุดให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอโดยเฉพาะในช่วงการพัฒนาผล
- จัดการระบายน้ำในสวนมังคุดให้ระบายได้ดี อย่าให้น้ำท่วมขัง
- หลังจากเก็บผลมังคุดเสร็จแล้ว ให้ทำการตัดแต่งกิ่งทันที เพื่อควบคุมขนาดทรงพุ่มทั้งด้านความสูงและด้านข้างของทรงพุ่ม รวมทั้งการตัดแต่งเพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง
- ดูแลแปลงและบำรุงต้นให้มีความสมบูรณ์ โดยการใส่ปุ๋ย กาจัดวัชพืชอย่างถูกต้องและเหมาะสม
- ในช่วงติดผลอ่อนในระยะ 8 สัปดาห์ ทางยูนิไลฟ์แนะนำให้ทำการฉีดพ่น นีโอ-ไฮแคล 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ทุก 15 วัน จนถึงระยะก่อนการเก็บเกี่ยว (ก่อนระยะสายเลือด) เพื่อให้เซลล์ผลแข็งแรง ซึ่งปริมาณการใช้ Ca จะแปรผันตามปริมาณน้ำฝน และพื้นที่ปลูก

เพิ่มเติม เพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่าควรใช้ คัพเวอร์กรีน ใส่ก่อนผสมสารเคมีทุกครั้ง

วิธีการที่เกษตรกรและผู้รับซื้อใช้ในการคัดมังคุดเนื้อแก้ว
- สังเกตจากลักษณะผลภายนอก เช่น สีผลไม่สม่ำเสมอ ผลบวมนูนขึ้นเป็นบางจุด กลีบเลี้ยงยกชี้ขึ้นรอบปากปลิงมีจุดสีน้ำตาลฉ่ำน้ำ (สังเกตได้เฉพาะผลที่เพิ่งเก็บเกี่ยว) ผู้คัดแยกต้องมีประสบการณ์และความชำนาญสูง
- ใช้ค่าความถ่วงจำเพาะ โดยวิธีการลอย-จมในน้ำหรือน้ำเกลือความเข้มข้น 4 % (น้ำเปล่า 10 ลิตร เกลือ 0.4 กก.) ผลที่จมส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อแก้ว ผลที่ลอยส่วนใหญ่เป็นเนื้อปกติ ซึ่งความแม่นยำในการคัดโดยวิธีนี้จะลดลงถ้ามีฝนตกชุกช่วงเก็บเกี่ยว
ที่มา : ศูนย์ปฎิบัติการข่าวเกษตร สำนักงานเกษตร อำเภอรือเซาะ