เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

เตือนภัย…หนอนเจาะผลมะเขือ

 ชื่อวิทยาศาสตร์   Leucinodesorbonalis  Guenee

ความสำคัญและลักษณะการทำลาย

หนอนเจาะผลมะเขือ   ชนิดนี้ทำความเสียหายให้แก่ยอดมะเขือในระยะกำลังเจริญเติบโตจะพบว่ายอดเหี่ยวเวลาแดดจัด   เพราะการทำลายมากจนเกิดการขาดการส่งน้ำส่งอาหาร     และเมื่อตรวจดูจะพบรูเจาะประมาณไม่เกิน 10 เซนติเมตรจากปลายยอด  หนอนจะกัดกินภายในการทำลายต่อยอดสูงถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ยอดที่แข็งแรงถูกทำลายยอดใหม่ที่แตกขึ้นมามีขนาดเล็กกว่า   และผลที่เกิดขึ้นยังได้รับความเสียหาย  โดยหนอนเจาะผลจะเจาะเข้าไปกัดกินภายในผลมะเขือ  ทำให้เสียคุณภาพส่งจำหน่ายไม่ได้ ช่วงระบาดรุนแรงอาจถูกทำลายถึง 50  เปอร์เซ็นต์   พบในมะเขือชนิดต่างๆ ยกเว้น มะเขือเทศ และชอบทำลายมะเขือเปราะ มากกว่ามะเขือยาว

รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ

ผีเสื้อหนอนเจาะขณะกางปีกกว้างประมาณ  1.5 – 2 เซนติเมตร  สีขาวมีแต้มสีน้ำตาลปนเทาที่ปีกคู่หน้าข้างละสองแห่ง   ผีเสื้อหนอนเจาะยอดมักมีขนาดเล็กกว่าหนอนเจาะผล   หนอนขนาดเล็กลำตัวยาวประมาณ 1.0  เซนติเมตร หัวสีน้ำตาลลำตัวใสสีเนื้อ

การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด

พบการระบาดทั่วประเทศในบริเวณที่มีการปลูกมะเขือ และพบการทำลายยอดมากในฤดูฝน   ส่วนผลถูกทำลายมากในฤดูแล้ง

ศัตรูธรรมชาติ

แตนเบียนหนอนเจาะผลมะเขือ มี 2 ชนิด คือ  Thratata sp.   และ Eriborus sp.

วิธีป้องกันกำจัด

1.วิธีกล

  • ก่อนปลูกพืชประมาณ  2  สัปดาห์  ควรทำการไถพรวน  และตากดินเพื่อกำจัดดักแด้ของแมลงศัตรูที่อาจหลงเหลืออยู่ในแปลงปลูก
  • สำรวจแปลงปลูก และเก็บยอดและผลที่ถูกหนอนเจาะทำลายทิ้ง ทั้งที่มีหนอนและไม่มีหนอน  เพื่อช่วยลดการแพร่ระบาด

เพิ่มเติม  เพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่าควรใช้  คัพเวอร์กรีน ใส่ก่อนผสมสารเคมีทุกครั้ง

“น้ำกระด้างหาย แผ่กระจายซึมลึก ผนึกพลังจับติด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”

ที่มา  http://www.chumphon.doae.go.th/aruk/fab57.pdf

 

 

 

 



วิธีสั่งของออนไลน์