เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

เตือนภัย หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด

หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (Spodoptera frugiperda ; Fall Armyworm)

        ตัวเต็มวัยเป็นหนอนผีเสื้อกลางคืน มีวงจรชีวิตประมาณ 30 – 40 วัน เมื่อผสมพันธุ์แล้ว ผีเสื้อเพศเมียจะวางไข่ในเวลากลางคืน โดยวางไข่เป็นกลุ่มประมาณ 100 – 200 ฟอง

หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด มักเข้าทำลายพืชเศรษฐกิจสำคัญ ดังนี้

     “ข้าวโพด” เกิดในระยะที่เป็นตัวหนอนเท่านั้น โดยเข้าทำลายข้าวโพดตั้งแต่อายุประมาณ 7 วัน จนกระทั่งออกฝัก โดยกัดกินยอดและใบข้าวโพดแหว่งหรือกัดกินทั้งแผ่นใบ และจะพบหลบซ่อนแสงกัดกินอยู่ภายในยอดหรือโคนกาบใบข้าวโพด โดยในระยะก่อนดอกตัวผู้โผล่ หนอนจะกัดกินเกสรตัวผู้ เมื่อใบยอดคลี่ทั้งหมด ดอกตัวผู้โผล่ หนอนจะย้ายไปกัดกินไหม และเจาะเปลือกหุ้มฝักเข้าไปกัดกินภายในฝัก หากระบาดรุนแรงจะทำให้ผลผลิตเสียหายประมาณ 70% ของพื้นที่

“ข้าว” เข้าทำลายโดยการกัดกินใบอ่อน และเข้าไปหลบอยู่ซอกดิน ใต้ดิน ใต้เศษตอซัง

         “อ้อย” เข้าทำลายโดยการกัดกินอยู่ในยอดอ้อย ทำให้ใบขาดเป็นรู เว้าแหว่ง ยอดกุด และจะพบตัวหนอนหลบซ่อนแสงอยู่ที่ยอดหรือโคนกาบใบอ้อย

การป้องกันกำจัด

       1. สำรวจสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง โดยสังเกตผีเสื้อบิน กลุ่มไข่ และหนอน

       2. เมื่อเริ่มพบผีเสื้อบิน ใช้ วอเดอร์ 300 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร เพื่อคุมไข่หนอน ตัดวงจรการเกิดหนอน หยุดการลอกคราบ

       3. เมื่อพบการระบาดของหนอน ใช้ วอเดอร์ 300 กรัม ร่วมกับสารเคมีป้องกันกำจัด คอลลิ่ง 200 ซีซี หรือ ฟิพเปอร์ 300 ซีซี หรือ ไซปรอย35 200 ซีซี หรือ ไตรฟอส 300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 5 -7 วัน

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife

ที่มา: องค์ความรู้เรื่องข้าว กรมการข้าว



วิธีสั่งของออนไลน์