เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

เตือนภัย…ด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียน

ด้วงหนวดยาว พบว่าเข้าทำลายทุเรียนหลายระยะ ส่วนใหญ่อยู่ในระยะตัวหนอน โดยตัวหนอนด้วงหนวดยาวจะมีลำตัวเป็นปล้อง ๆ สีขาวขุ่น ส่วนหัวค่อนข้างโตกว่าส่วนท้องและมีเขี้ยวสีดำขนาดใหญ่ ทำให้ตัวหนอนสามารถกัดกินและเจาะเข้าไปในเนื้อไม้ได้ การเข้าทำลายในระยะตัวหนอนจะยากต่อการจัดการ ดังนั้นควรมีการป้องกันตั้งแต่ระยะตัวเต็มวัยหรือกำจัดตัวเต็มวัยที่จะเข้ามาเกาะตามโคนต้น กิ่ง เพื่อผสมพันธุ์และวางไข่ลงในเนื้อไม้ ร่วมกับการกำจัดตัวหนอนด้วยวิธีการผสมผสาน

ลักษณะการทำลาย

   ตัวเมียวางไข่ในเวลากลางคืนโดยบินมาเกาะต้นทุเรียนและไต่หาตำแหน่งที่เหมาะสมตามลำต้น และกิ่งขนาดใหญ่ในสวนที่มีการระบาดรุนแรงพบหนอนด้วงหนวดยาววัยต่างๆ ในต้นทุเรียน เฉลี่ย 40-50 ตัวต่อต้น ตัวหนอนจะกัดกินชอนไชไปตามเปลือกไม้ด้านใน หรืออาจกัดควั่นเปลือกรอบต้น ขณะหนอนยังเล็กอยู่สังเกตแทบไม่เห็นร่องรอยการทำลาย แต่เมื่อหนอนโตขึ้นจะพบขุยไม้ละเอียดซึ่งเป็นมูลของหนอนบริเวณรอยทำลาย เกษตรกรจะสังเกตเห็นก็ต่อเมื่อหนอนโตและอาจเจาะเข้าเนื้อไม้ หรือกินควั่นรอบต้นทุเรียนแล้ว ซึ่งจะมีผลทำให้ท่อน้ำท่ออาหารถูกตัดทำลายเป็นเหตุให้ทุเรียนเริ่มทรุดโทรมใบร่วงและยืนต้นตายได้ เนื่องจากตัวเต็มวัยมีอายุขัยยาว ทำให้ช่วงระยะเวลาการวางไข่นาน ในต้นหนึ่งๆ จึงพบไข่และหนอนระยะต่างๆ กันเป็นจำนวนมาก

การป้องกันกำจัด

การกำจัดไข่ : ทำได้ด้วยการสำรวจหารอยแผลของการวางไข่บริเวณเปลือกรอบๆต้น ถ้าพบให้เก็บมาทำลาย
การกำจัดตัวหนอน : สำรวจหาร่องรอยการเข้าทำลายของด้วงหนวดยาว ถ้าสำรวจพบขุยไม้ละเอียดตามส่วนต่าง ๆ ของต้นทุเรียนให้ใช้มีดแคะหาตัวหนอนที่เข้าไปทำลาย และถ้าพบให้จับหนอนมาทำลาย
การกำจัดตัวเต็มวัย : การกำจัดตัวเต็มวัยโดยใช้ภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหา โดยการใช้ตาข่ายดักปลาที่เลิกใช้แล้ว มาพันไว้กับต้นทุเรียนรอบๆลำต้น จากส่วนโคนต้นถึงกลางลำต้น ซึ่งเป็นส่วนที่ด้วงหนวดยาวชอบเจาะและทำลาย ซึ่งเมื่อด้วงบินมาจับต้นทุเรียนขาของด้วงจะสัมผัสและพันติดเข้ากับตาข่ายที่พันอยู่รอบๆลำต้นอยู่ เมื่อด้วงพยายามดิ้นรนตาข่ายก็จะพันแน่นยิ่งขึ้นจนด้วงไม่สามารถจะหลุดออกได้และแห้งตายติดกับข่ายในที่สุด
ลดแหล่งแพร่พันธุ์ : ตัดและเผาทำลายต้นทุเรียนที่ตายหรือต้นที่มีหนอนเข้าทำลายมากจนไม่สามารถให้ผลผลิตได้ เพื่อลดประชากรแมลงและแหล่งแพร่กระจายพันธุ์ หากแหล่งที่มีการระบาดรุนแรงให้พ่นด้วยสารฆ่าแมลง เช่น สตรัค  อัตรใช้ 100-300  กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่ให้ทั่วเมื่อพบการระบาด

การป้องกันกำจัดที่ยูนิไลฟ์แนะนำ

 

เพิ่มเติม เพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่าควรใช้ คัพเวอร์กรีน ใส่ก่อนผสมสารเคมีทุกครั้ง 

 

ที่มา : ฟอง วรรณสิทธิ์ บ้านเลขที่ 173 หมู่ที่10 ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ



วิธีสั่งของออนไลน์