เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

หนอนกินดอกทุเรียน

            หนอนที่เข้าทำลายดอกทุเรียนมีหลากหลายชนิด เช่น หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนใยกินดอก  หนอนกระทู้ผัก และกลุ่มหนอนผีเสื้อกลางวันขนาดเล็กหลายชนิด โดยตัวเต็มวัยจะวางไข่บนดอก เมื่อฟักเป็นตัวหนอนจะเจาะเข้าไปกัดกินทำลายอยู่ภายในดอก

ลักษณะการทำลาย

            หนอนใยกินดอกทุเรียน (Autoba versicolor Walker , Eublema versicolora Walker) เป็นแมลงสำคัญที่อีกชนิดที่เข้าทำลายช่วงที่ดอกทุเรียนยังไม่บาน หนอนมีลักษณะหัวสีน้ำตาลอ่อน ลำตัวยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร สีเขียวปนเหลือง จะสร้างใยยึดดอกติดกัน กัดกินภายในดอก และเจาะก้านดอกเป็นรู ดอกที่ถูกทำลายจะมองเห็นได้ง่าย โดยจะเห็นมูลของหนอนออกมาอยู่ข้างนอกดอก ระยะต่อมาดอกนั้นจะแห้งและร่วงหล่นไป

การป้องกันกำจัด

  1. หมั่นสำรวจแปลงอยู่เสมอ เมื่อเริ่มพบผีเสื้อป้องกันด้วย วอเดอร์ 200 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร จะช่วยในการคุมไข่ ลดการวางไข่ของตัวเต็มวัย
  2. เมื่อเริ่มพบการเข้าทำลายของหนอนใช้ วอเดอร์ 200 กรัม ร่วมกับ คอลลิ่ง 200 ซีซี หรือ ฟิพเปอร์ 300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร จะได้ทั้งกำจัดตัวหนอน ยับยั้งการลอกคราบ ตัดวงจรการระบาดของหนอน

แหล่งข้อมูล:

• แมลง-ไรศัตรูทุเรียน สวพ.6
• ทุเรียน ราชาผลไม้ (พิสุทธิ์ เอกอำนวย)

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife



วิธีสั่งของออนไลน์