เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

วิธีป้องกันกำจัด “โรคหอมเลื้อย”

 
โรคหอมเลื้อย หรือ โรคแอนแทรคโนสของหอม เกิดจาก เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides
 
 
ลักษณะอาการ
         เชื้อราสามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของพืช เช่น ใบ กาบใบ คอ หรือส่วนหัว ทำให้เกิดเป็นแผล ซึ่งเนื้อ
แผลเป็นแอ่งต่ำกว่าระดับผิวปกติเล็กน้อย บนแผลมีสปอร์ของเชื้อราเป็นหยดของเหลวสีส้มอมชมพู ซึ่งเมื่อแห้งแล้ว
จะเป็นตุ่มสีดำเล็ก ๆ เรียงเป็นวงรีซ้อนกันหลายชั้น โรคนี้ทำให้ใบเน่าเสียหาย ต้นหอมแคระแกรน ใบบิดโค้งงอ หัว
ลีบยาว เลื้อย ไม่ลงหัว ระบบรากสั้น ทำให้ต้นหอมเน่าเสียหายในแปลงปลูก เก็บเกี่ยวไม่ได้ หรือไปเน่าเสียในช่วง
เก็บรักษา
 
   
 
การป้องกันกำจัด
1. ก่อนปลูกหอมทุกครั้งควรปรับปรุงดินด้วยการใช้ ไบ-โอซอย 300 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร เพื่อฟื้นฟูสภาพของดิน
ให้ดีขึ้น
2. หลีกเลี่ยงการปลูกหอมในช่วงฤดูฝนตกชุก และควรยกร่องสูงเพื่อให้มีการระบายน้ำที่ดี
3. เก็บชิ้นส่วนของพืชที่เป็นโรคไปเผาทำลายทุกครั้ง เพื่อลดการแพร่กระจายของโรค
4. ป้องกันโรคระบาดลุกลามไปยังต้นที่ไม่เป็นโรค โดยพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช
 
การป้องกัน บิซโทร 30 กรัม หรือ เบนเอฟ 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
การรักษา อะซอกซีสโตรบิน 5-10 ซีซี หรือ รัสโซล 15 ซีซี หรือ แอพโพช 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
 
สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife


วิธีสั่งของออนไลน์