เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

ด้วงงวงมันเทศ Cylas formicarius Fabricius

     แมลงปีกแข็งขนาดเล็ก ลำตัวส่วนปีกมีสีน้ำเงินเข้มเป็นมันบริเวณอก ขามีสีอิฐแดง ส่วนหัวยื่นยาวออกมาเป็นงวงและโค้งลง ตัวยาวประมาณ 5-6.5 มิลลิเมตร เพศเมียจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ บริเวณหัวและเถาในรอยเจาะใต้ผิวเปลือก ไข่เล็กมาก สีครีม รูปร่างรี หนอนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆ มีสีขาว หัวสีน้ำตาล ส่วนใหญ่หัวมันเทศมักถูกทำลายเสียหายจากหนอนวัย 3 ซึ่งโตเต็มที่จะยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร จากนั้นจะเข้าดักแด้บริเวณหัวและเถา

ระยะหนอน (อายุ 11-13 วัน)

ระยะตัวเต็มวัย (อายุ 40-53 วัน) 

ลักษณะการเข้าทำลาย

     ตัวเต็มวัยจะทำลายทุกส่วนของพืช ตัวหนอนทำลายในหัวและเถา หัวมันเทศที่ถูกทำลายจะมีลักษณะเป็นทางคดเคี้ยว มีสีเขียวและสีดำ แม้ถูกทำลายเพียงเล็กน้อยก็ไม่สามารถรับประทานได้ เพราะมีกลิ่นเหม็นและรสขม หัวมันเทศที่ถูกทำลายรุนแรงบางครั้งเน่าและมีกลิ่นเหม็น 

การแพร่ระบาด

     ด้วงงวงมันเทศ มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ชอบออกบินในเวลากลางคืน ช่วงเดือนแรกจะเข้าทำลายบริเวณต้นและเถาเท่านั้น เมื่อมันเทศอายุ 1.5 เดือน (ระยะเริ่มมีหัว) จะเริ่มเข้าทำลายหัว แต่บางแหล่งพบเมื่ออายุมันเทศ 2-2.5 เดือน ขึ้นอยู่กับแหล่งปลูก และมักระบาดเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูแล้งและภาวะฝนทิ้งช่วง

การป้องกันกำจัด

  1. ควรใช้เถามันเทศที่สมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากด้วงงวงมันเทศ
  2. กำจัดวัชพืชที่เป็นตระกูลเดียวกันกับมันเทศ บริเวณรอบๆ แปลงปลูกออกให้หมด
  3. ใช้สารกำจัดแมลงที่มีประสิทธิภาพพ่นป้องกันทุก 1 เดือน
    แนะนำ ฟิพเปอร์ 30 ซีซี หรือ ไอมิด้า 2 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร (โดยเริ่มพ่นเมื่ออายุ 1 เดือน)

  1. หลีกเลี่ยงการปลูกในแหล่งที่มีการระบาดของด้วงงวงมันเทศ เลี่ยงการปลูกซ้ำที่เดิม
  2. ควรปลูกหมุนเวียนโดยใช้พืชต่างตระกูลกับมันเทศ

 

 

แหล่งข้อมูล : กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

           : ฐานข้อมูลพันธุกรรมพืช

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife



วิธีสั่งของออนไลน์