เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

ความต้านทานสารกำจัดแมลงของหนอนใยผัก

หนอนใยผัก (Plutella xylostella L.)

         หนอนใยผัก มีวงจรชีวิตสั้นเพียง 14-18 วัน ตัวเต็มวัยหลังจากออกดักแด้แล้วสามารถผสมพันธุ์และวางไข่ได้ภายใน 1 วัน ทำให้ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว และวางไข่ได้ตลอดทั้งปี จัดเป็นแมลงศัตรูผักตระกูลกะหล่ำที่สำคัญที่สุด เพราะป้องกันกำจัดได้ยาก จะกัดกินทำลายผักเสียหายอย่างมากตั้งแต่ผักเป็นต้นอ่อน หากระบาดรุนแรงจะกินใบจนเป็นรูพรุน เหลือแต่ก้านใบ

การต้านทานสารกำจัดแมลงของ “หนอนใยผัก”

         หนอนใยผักสามารถสร้างความต้านทานต่อสารกำจัดแมลงหลายชนิดได้อย่างรวดเร็ว โดยการสร้างเอนไซม์ทำลายพิษของสารกำจัดแมลง เช่น cytochrome P450 monooxygenases, esterases และ glutathione s-transferase ทำให้กำจัดหนอนใยผักได้ยากขึ้น เกษตรกรต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงขึ้นดังนั้นในการกำจัดหนอนใยผักให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด จึงควรใช้วิธีการผสมผสาน

การกำจัด “หนอนใยผัก” แบบผสมผสาน

          การกำจัดแบบผสมผสาน ก็คือการใช้หลายๆ วิธีร่วมกัน ได้แก่ กับดักเหนียว กับดักแสงไฟ กับดักสารเพศ กำจัดด้วยเชื้อราหรือแบคทีเรียกำจัดแมลง การเขตกรรมที่ดี การปลูกพืชหมุนเวียน และการฉีดพ่นสารเคมีแบบสลับกลุ่มเพื่อลดปัญหาการดื้อยา เป็นต้น

การเลือกใช้สารกำจัดหนอนใยผัก

หนอนใยผักสามารถสร้างความต้านทานต่อสารกำจัดแมลงหลายชนิดได้อย่างรวดเร็ว เมื่อต้องฉีดพ่นบ่อยขึ้น เกษตรกรต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงขึ้นไปด้วย ดังนั้น การเลือกใช้สารที่มีผลไปรบกวนกระบวนการเติบโตตามธรรมชาติของแมลง จะไม่ทำให้เกิดการดื้อยา

กลุ่ม 15 เบนโซอิลยูเรีย (Benzoylurea)

จะไปยับยั้งการสังเคราะห์ไคติน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของผนังลำตัวแมลง ทำให้แมลงตายตอนลอกคราบ ผนังลำตัวที่สร้างใหม่จะผิดปกติ ปริแตกง่าย น้ำระเหยออกจากตัวได้ง่าย แมลงขาดน้ำตาย แมลงตัวอ่อนนิ่มเกินไป ทำให้แมลงพิการ เป็นการตัดวงจรชีวิตหนอน ลดปริมาณการเกิดของหนอนได้

ที่มา : กลไกความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงในหนอนใยผัก, รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2555 สำนักวิจัยพัฒนาอารักขาพืช

      :โรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ พิสุทธิ์ เอกอำนวย : คำแนะนำการป้องกันกำจัดแมลง-สัตว์ศัตรูพืชอย่างปลอดภัย จากงานวิจัย 2563 สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืชกรมวิชาการเกษตร



วิธีสั่งของออนไลน์