ข้าวหอมมะลิ105
ความภาคภูมิใจเกษตรกรยูนิไลฟ์ มากด้วยปริมาณ คุณภาพ มีความปลอดภัย ขายได้ราคา
ข้าวหอมมะลิ105ได้รับความนิยมในการบริโภคทั่วโลก เกษตรกรจะขายได้ราคาสูงเมื่อเทียบกับข้าวเจ้าพันธุ์อื่นๆ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สามารถปลูกได้ทุกพื้นที่แต่ที่มีคุณภาพดีต้องในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ เนื่องจากคุณภาพของดิน สภาพแวดล้อมความบริสุทธิ์ของสายพันธุ์ ในอดีตข้าวหอมมะลิประสบปัญหาหลายต่อหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม ฝนแล้ง น้ำท่วม ดินเค็ม การเกิดโรคไหม้ แมลงศัตรูทำลาย ผลผลิตเสียหายจากวัชพืชรบกวน วันนี้บริษัท ยูนิไลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้พิสูจน์แนวทางในการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ ตลอดจนขจัดปัญหาในขบวนการผลิต ลดการใช้ปุ๋ยเคมี รักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อคงความเป็นเอกลักษณ์ของข้าวหอมมะลิ105ไว้ ทั้งได้ปริมาณ มีคุณภาพ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค มาลองดูนวัตกรรมยูนิไลฟ์กันค่ะ
- สภาพแวดล้อมในการปลูก
-ฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาล แล้งมากช่วงหว่านข้าว แนะนำ คลุกเมล็ดข้าวด้วย ยูนิฟอส เอ็น 500 กรัมต่อข้าวปลูก 100 กิโลกรัม ก่อนหว่านจะทำให้ข้าวสามารถใช้ปุ๋ยที่ติดที่เปลือกในการเจริญเติบโตได้
- ปัญหาสภาพดินเค็ม ในบางพื้นที่หากมีคราบเกลือข้าวจะย่อยตายง่าย ควรใช้ ไบโอ-ซอย ปรับสภาพดิน
- สภาพน้ำท่วม ผลผลิตเสียหาย
-ฝนตกมากในช่วงตั้งท้องทำให้ผลผลิตเสียหายมากกว่าระยะอื่น แนะนำการใช้ยูโอนิกซ์คลุกปุ๋ยเคมีหว่านป้องกันการสูญเสียปุ๋ย และ ฉีดพ่นทางใบเพื่อช่วยให้ข้าวได้ใช้ธาตุอาหารอย่างรวดเร็วด้วย ซีวิว นีโอ-ไมเนอร์ นีโอ-ไฟต์ และนีโอ-ไฮแคล
- โรคใบไหม้ โรคที่มากับความชื้นสูง ฝนตกต่อเนื่อง น้ำท่วมขัง สามารถใช้สาร เบนเอฟ รัสโซลแก้ไขได้
- การเตรียมเมล็ดพันธุ์
- เลือกเมล็ดพันธุ์ที่บริสุทธิ์ ปราศจากการปนพันธุ์ (จากแหล่งที่เชื่อถือได้)
- เพิ่มการงอกและเร่งการเจริญเติบโตข้าว โดยใช้เมล็ดพันธุ์ 100 กิโลกรัมคลุกกับ ยูนิฟอส-เอ็น 500 กรัมก่อนหว่านข้าวแห้ง
- การคุม-ฆ่าหญ้า
1.เตรียมพื้นที่ก่อนปลูก แนะนำ เบิร์นอัพ48 หรือ บราวโซน ผสม ไบโอ-ซอย พ่นทำลายวัชพืชโดยที่วัชพืชจะแห้งและกลายเป็นอินทรีย์วัตถุให้กับข้าว จากนั้นใช้ผาล 7 ตีดินเพื่อให้ซากวัชพืชกลับลงไปใต้ดิน จากนั้นจึงหว่านเมล็ดข้าวปลูกแล้วคราดกลบอีกครั้ง
2.หลังหว่านข้าวแห้ง แนะนำ บีโฟ หรือ บิวทาคลอร์ ผสม ไบโอ-ซอย พ่นทับทันที จะสามารถคุมการงอกของเมล็ดวัชพืชที่ผิวดินได้โดยไม่มีผลกระทบต่อข้าว
3.ช่วงฝนตกใหม่และข้าวสูงพอสมควร แนะนำ พีโพนา70 + เซจเจอร์ + ซีวิว คุม-ฆ่าหญ้าที่เริ่มงอกและ
กำจัดวัชพืชใบกว้างที่เหลืออยู่ ด้วย ทูโฟมีน
- การใส่ปุ๋ย
- หลังข้าวงอกและอยู่ในช่วงแล้ง แนะนำให้ใช้ ยูเรียคลุกสารเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย “ยูโอนิกซ์” + ซีวิว อัตรา (2 กก. + 200 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตรต่อพื้นที่ 1-2 ไร่) พ่นอาบโชกต้นข้าว จะช่วยให้ข้าวออกรากมาก ทนทานต่อสภาพดินเค็มและแห้งแล้งอย่างดียิ่ง อาจพ่นทุก 10-15 วันต่อครั้ง แล้วแต่สภาพอากาศว่าแห้งแล้งมากน้อยอย่างไร
- หว่านเมื่อฝนเริ่มตก ใช้ ยูเรีย คลุก สารเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย “ยูโอนิกซ์” อัตรา 5 กก./ไร่
- หว่านครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 10-15 วัน ถ้าเป็นดินเหนียวใช้ 16-20-0 ถ้าเป็นดินทรายหรือดินที่มีธาตุอาหารต่ำ ใช้ 16-16-8, 18-12-6, 16-16-16 + ยูเรีย (1:1) ผสม สารเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย “ยูโอนิกซ์” หว่าน 10-15 กก./ไร่ จะช่วยให้ข้าวแตกกอมาก ใบเขียวสมบูรณ์ต้นอวบ พร้อมสร้างรวงใหญ่ยาว
- หว่านปุ๋ยครั้งที่ 3 เมื่อข้าวเริ่มแทงรวงไม่เกิน 10% ด้วย ยูเรีย + สารเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย “ยูโอนิกซ์” อัตรา 5 กก./ไร่ ทำให้ข้าวแทงรวงสม่ำสมอ รวงใหญ่ ใบธงกว้าง ผลผลิตสูง
- การป้องกันกำจัดโรค
5.1 โรคไหม้
เกิดจากเชื้อรา ระยะกล้าต้นเปื่อยและตาย ถ้าเป็นในช่วงแตกกอ-ตั้งท้อง ทำให้ผลผลิตต่ำควรฉีดสาร เบนเอฟ หรือ บิซโทร ป้องกันเมื่อมีความชื้นสูงหมอกลง ฝนตกบ่อยครั้ง
5.2 โรคขอบใบแห้ง
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เกิดได้ในทุกระยะข้าว หากเกิดโรคไม่ควรใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงจะทำให้โรคระบาดรุนแรง ควรใช้ ไมโครบลูคอป รัสโซล ร่วมกับ แคลเคลียร์ หรือ นีโอ-ไฮแคล ทุกครั้ง
5.3 โรคใบจุด ใบขีด
พบในทุกระยะของข้าวป้องกันกำจัดโดยใช้ เบนเอฟ หรือ บิซโทร
5.4 โรคใบขีดแถบแดง
เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อแบคทีเรียป้องกันด้วย นีโอ-ไฮแคล
- การป้องกันกำจัดแมลง
6.1 เพลี้ยจักจั่นสีเขียว
เป็นพาหะของโรคใบสีส้มควรป้องกันกำจัดด้วย อะวอร์ด40 ร่วมกับ ฟินิช หรือ เท็นสตาร์
6.2 หนอนกอ
เกิดช่วงข้าวแตกกอเต็มที่ ข้าวแน่นในพื้นที่ที่เคยมีการระบาด ทำให้ข้าวยอดเหี่ยวเมล็ดลีบทั้งรวง(ข้าวหัวหงอก) เลือกใช้ปุ๋ยเสริมความแข็งแรง ให้กับต้นข้าวหากพบผีเสื้อบินควรพ่นทำลายด้วย นิวทริน55
6.3 แมลงบั่ว
เข้าทำลายในระยะกล้าแตกกอสูงสุดช่วงฝนตกความชื้นสูงทำให้ต้นข้าวเป็นหลอดคล้ายหลอดหอม การ ป้องกันกำจัดใช้ เคาท์ดาว หรือ ไตรฟอส
6.4 เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
เข้าทำลายข้าวได้ทั้งฤดู เป็นพาหะของโรคหงิก(จู๋)ควรป้องกันกำจัดด้วย อะวอร์ด40 ร่วมกับ ฟินิชหรือ เท็นสตาร์
หมายเหตุ การเลือกใช้สารป้องกันกำจัดควรมีการเว้นระยะก่อนเก็บผลผลิตอย่างน้อย 20-30 วัน เพื่อไม่ให้สารตกค้างในผลผลิต ซึ่งผลผลิตของเกษตรกรยูนิไลฟ์ให้ความมั่นใจเรื่องคุณภาพและความปลอดภัย
ผลผลิต คือ บทพิสูจน์
คุณจุฑามาศ เกษเงิน และ คุณแสวงศิลป์ ผิวเงิน
สมาชิกยูนิไลฟ์ อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี ลองใช้ สารเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย “ยูโอนิกซ์” ในข้าวโพดเป็นครั้งแรก ภายใน 3 วัน ก็เห็นข้าวโพดโตเร็ว เขียวดี อย่างชัดเจน จึงนำมาใช้ในข้าวขาวดอกมะลิ 105 ผลที่ได้ คือ ต้นข้าวสมบูรณ์ เมล็ดเต่ง รวงสวยน้ำหนักดี สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน คือ 47 กรัมต่อ 100 เมล็ด ในขณะที่รัฐบาลกำหนดแค่ 42 กรัม ขายได้ตันละ 20,000 บาท(ราคาปี 2554)
คุณอุทิศ ระวังกิ่ง
เจ้าของ ศูนย์สุขัง อ.ปักธงชัยจ.นครราชสีมา เป็นผู้นำเกษตรกรอีกหนึ่งคนที่มีความเชื่อมั่นในสารเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย “ยูโอนิกซ์” ว่าจะทำให้การทำนาง่ายขึ้นต้นทุนลดลง ผลผลิตเพิ่มเพราะตั้งแต่เริ่มใช้มา ผลผลิตข้าวไม่เคยได้ต่ำกว่า1,000 กก. ต่อไร่เลย ถ่ายทอดผลสำเร็จนี้สู่เกษตรกรลูกทีม ทุกคนต่างก็ยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า สารเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย “ยูโอนิกซ์” ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตได้เยี่ยมจริง ๆ ครับ
คุณทรัพย์ จันธรรม
สมาชิกยูนิไลฟ์ อ.โพนทราย จ.ร้อยเอ็ด ทำนาข้าวอยู่ในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิของไทย ใช้ สารเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย “ยูโอนิกซ์” กับหอมมะลิมาเป็นฤดูที่สองแล้วนอกจากจะประหยัดต้ต้นทุนค่าปุ๋ยผลผลิตก็ดีกว่าเมื่อก่อนมาก น้ำหนักของเมล็ดข้าวไม่ลดแม้ตากจนลูกทีมบ่นทำข้าว ยูนิไลฟ์นี่มันหนักจริง ๆ แถมได้ผลผลิตเพิ่มก็ดีใจมากเลย
คุณประเทือง จันเทศ
เจ้าของ ศูนย์ฟ้าห่วน จ.ยโสธร โดยทีม คุณรวิกร ขันตรี ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ สารเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย “ยูโอนิกซ์” ลดต้นทุนค่าปุ๋ยที่มีราคาแพงสูงขึ้น คุณประเทืองจึงทดลองใช้บนพื้นที่ 15 ไร่ ปกติใช้ปุ๋ยประมาณ 10 กระสอบ แต่หลังจากใช้ผสมปุ๋ยหว่านแล้ว ลดลงเหลือเพียง 3 กระสอบเท่านั้น และเมื่อเทียบกับแปลงข้างเคียงที่ไม่ได้ใช้ พบว่า ต้นแข็ง เมล็ดแกร่ง รวงใหญ่ กว่าเดิมมาก ผลผลิตก็เพิ่มขึ้นครับ