เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

ขอนแก่น 3…หวานทนแล้ง หลีกลี้หนีโรคเอดส์อ้อย

อาการของอ้อยตอเป็นโรคใบขาว

อ้อยหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่เกษตรกรนิยมปลูก เพราะปีแรกหลังจากปลูกแล้วตัดอ้อยส่งขายโรงงาน สามารถไว้ตอปลูกต่อได้อีก 2–3 ปี โดยไม่ต้องปรับสภาพหน้าดินปลูกใหม่เหมือนพืชหลายๆชนิด แต่ถ้าเลือกพันธุ์อ้อยไม่ดี นอกจากทำให้ต้นทุนสูง ยังเสี่ยงเกิดโรคโดยเฉพาะโรคใบขาวอ้อย ที่ชาวไร่อ้อยกลัวกันมาก เพราะเป็นโรคที่ยากจะดูได้จากภายนอก และไม่มีวิธีกำจัดรักษา ไม่ต่างอะไรจากคนป่วยเป็นโรคเอดส์

นายสรรเสริญ เสียงใส นักวิชาการชำนาญการ กรมวิชาการเกษตร สวพ.3 ขอนแก่น บอกว่า โรคนี้มีสาเหตุมาจากเชื้อไฟโตพลาส ติดมากับท่อนพันธุ์อ้อย ถ้าอ้อยสมบูรณ์ ได้รับน้ำ ปุ๋ย แดดดีอย่างต่อเนื่อง อ้อยจะเติบโตเป็นปกติ ดูไม่ออกว่าติดเชื้อนี้มา “แต่เมื่อใดอ้อยกระทบแล้ง น้ำท่วม ขาดปุ๋ย หรือเป็นอ้อยตอปีที่ 2 อาการของโรคจะแสดงออกมาให้เห็น ใบอ้อยขาว แตกกอมากคล้ายกอตะไคร้ การกำจัดสามารถทำได้วิธีเดียว ขุดไปเผาทำลาย หากปล่อยทิ้งไว้จะกินปุ๋ย เปลืองน้ำ ต้นโตช้า หรือถ้าโตจะออกดอก ทำให้สูญเสียน้ำหนัก ความหวานลดลง” หนทางที่จะแก้ปัญหานี้ได้ คือใช้วิธีป้องกัน เลือกใช้ท่อนพันธุ์ที่ปลอดเชื้อ

เพื่อแก้ปัญหานี้ ปี 2537 นักวิจัยของศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่นจึงนำพันธุ์อ้อยเค 84-200 (ต้นพ่อ) ซึ่งแตกกอ 4-5 ลำ ออกดอกน้อย ไม่เสียน้ำหนัก ความหวานอยู่ที่ 11-13 ซีซีเอสต่อตัน ให้ผลผลิตสูง 14-17 ตันต่อไร่ มาผสมกับอ้อยโคลน 85-2-352 ที่ให้ผลผลิต 17.79 ตันต่อไร่ ความหวาน 2.66 ซีซีเอสต่อตัน ลักษณะต้านทานโรคเหี่ยวเน่าแดงและแส้ดำ ทนแล้ง เหมาะกับสภาพดินร่วนปนทราย เริ่มปรับปรุงพันธุ์การวิจัยปรับปรุงพันธุ์ใช้เวลา 15 ปี ได้พันธุ์ใหม่ “อ้อยขอนแก่น 3” ปลูกได้ดีในสภาพดินร่วนปนทราย ทนแล้ง ลำใหญ่ แตกกอดี มีค่าความหวาน 12 ซีซีเอสต่อตัน ถ้าดูแลดีให้น้ำเพียงพอจะได้ผลผลิต 18-22 ตันต่อไร่ ส่วนอ้อยตอปี 2 ผลผลิต 16 ตันต่อไร่ ที่สำคัญ อ้อยตอพันธุ์ขอนแก่น 3 พบการระบาดโรคใบขาวน้อยมากเพื่อให้มีอ้อยพันธุ์ดีปลอดโรค เพียงพอกับความต้องการของเกษตรกร ศูนย์วิจัยพืชไร่จึงนำอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 มาทำการขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเนื้อเยื่อ เพื่อเพิ่มปริมาณกล้าพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ส่งต่อให้เกษตรกรนำไปปลูกขายท่อนพันธุ์เพื่อจำหน่ายกระจายพันธุ์สู่ชาวไร่อ้อยด้วยกันในราคาไร่ละ 15,000-20,000 บาทและเมื่อเกษตรกรนำไปปลูกปรากฏว่า เป็นที่ชื่นชอบของโรงงานน้ำตาล เพราะพันธุ์ขอนแก่น 3 มีค่าความหวาน 11–13 ซีซีเอสต่อตัน สูงกว่ามาตรฐานที่โรงงานตั้งไว้ 10–11 ซีซีเอสต่อตัน.

 

ที่มา      ไทยรัฐออนไลน์

http://www.thairath.co.th/content/6227752 3 4 5



วิธีสั่งของออนไลน์